สาระน่ารู้
  • 01 มิ.ย. 2564
 120,543

รู้ไว้!!! ก่อนฉีด วัคซีนโควิด-19 คืออะไร มีกี่ชนิด?

โดย : ศูนยะตา

รู้ไว้!!! ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 

ไทยร่วมใจสู้ภัยโควิด ...สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน แม้จะมีเหตุผลและความกังวัลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 อยู่บ้าง แต่ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้น และ ทางออกที่จะช่วยแก้ปัญหาของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19)  ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ให้กับคนทั่วทั้งโลกได้อย่างดีที่สุด   


UploadImage

...ซึ่งปัจจุบันนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างออกมา "รณรงค์" เชิญชวนให้คนไทยฉีดวัคซีนกันให้ครบ ทุกคน ทั้งประเทศ  โดย พล.อ. ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ประกาศให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็น "วาระแห่งชาติ" เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในสิ้นปีนี้ มีนโยบายวางไว้ให้ฉีดกว่าวันละ 5 แสนคน หรือวันละ 15 ล้านโดส !!!! เริ่ม 7 มิ.ย 64


UploadImage
 

โดยกำหนดเป้าหมายไว้ 3 กลุ่มหลัก เพื่อให้หน่วยงานแยกกันบริหารจัดการวัคซีนที่รับมาจากสต็อกกลางของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

• กลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค สธ. รับผิดชอบ

• กลุ่มเอกชนเพื่อเปิดเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงแรงงาน รับผิดชอบ

• กลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดรับผิดชอบ

 

แล้ววัคซีนคืออะไร? มีกี่ชนิด? วันนี้ สอ.ปม. จะมาเล่าให้ฟังกันครับ

 

วัคซีน COVID-19 คืออะไร ?

วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น



UploadImage


วัคซีน COVID-19 มีกี่ชนิด ? (ชนิดนะครับไม่ใช่ยี่ห้อ ^^)

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 โดยหลายบริษัทผู้ผลิตและหลายรูปแบบ วิธีการผลิตวัคซีนหรือที่มาของวัคซีนมีหลายวิธีการ แต่ทั้งหมดคือให้ต่อต้านไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อไปก่อโรคได้ 

 

โดยวิธีการใช้ผลิตวัคซีน มีทั้งหมด 4 ชนิดดังนี้

1 . วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)

วัคซีนกลุ่มนี้  คือการนำเชื้อไวรัสโควิด19 มาขยายจำนวนให้มากขึ้น และนำมาทำให้เชื้อตาย แล้วทำให้สะอาด เพื่อนำมาฉีดทำเป็นภูมิคุ้มกันไวรัสในตัวเรา เสมือนร่ายกายได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว  เทคโนโลยีนี้มีวิธีการทำมานานแล้ว ครับ แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง

วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Sinovac และ sinopharm
 UploadImage

 

2.วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)

วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ผลิตโดยการ สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19

วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วัคซีนแบรนด์ Novavax  


UploadImage

 

3.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม

วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่ สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ 

วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna 


UploadImage

4. วัคซีนโควิด 19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccines) 

โดยใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ (ไม่ทำให้เราป่วย) หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก แล้วตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ โดยฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา วัคซีนประเภทนี้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ

วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของ Johnson & Johnson และ Oxford –  AstraZeneca รวมถึงวัคซีน Sputnik V

 

UploadImage
ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

UploadImage
 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟก่อนวันที่มาฉีด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ตรวจสอบสถานที่ เวลานัด และอย่าลืมบัตรประจำตัวประชาชน

 

สำหรับผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว

ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน (น้ำหนัก >100 กิโลกรัม หรือ BMI >35) ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน 
  • หากรับประทานยาประจำ ไม่ควรหยุดยา ยกเว้นแพทย์ให้หยุดยาชั่วคราว และแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่รับประทานยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ต้องกดตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 2 นาที ส่วนผู้ที่รับประทานยาวาร์ฟาริน ควรต้องมีระดับ INR <3
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ผู้ที่กำลังจะได้รับการผ่าตัดหรือกำลังได้รับยาเคมีบำบัดควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนผู้ป่วยรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด ให้เว้นระยะการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เดือน
  • ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ HIV สามารถฉีดวัคซีนได้
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารสามารถฉีดวัคซีนได้

 

ผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน ได้แก่ (หรือ แล้วแต่แพทย์เป็นผู้พิจารณา)

  • อายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากวัคซีน Sinovac และ AstraZeneca ยังไม่มีข้อมูลในผู้มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
  • กำลังตั้งครรภ์ กรมอนามัยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และแนะนำให้ฉีดวัคซีน Sinovac ก่อน เนื่องจากผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว 
  • เจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น ไข้ ถ่ายเหลว หรือเพิ่งออกจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 สัปดาห์ หรือโรคเรื้อรังอาการไม่คงที่ ควรเลื่อนนัด
  • ฉีดวัคซีนห่างจากวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2-4 สัปดาห์ แต่วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อถูกสุนัขกัดให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลย 

 

8 ข้อต้องแจ้ง ก่อนฉีดวัคซีน

สิ่งที่ต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่

  1. มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร  อย่างรุนแรงหรือจนเป็นอันตรายต่อชีวิต
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติภูมิแพ้ หรือมีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  3. มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีดวัคซีน
  4. มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน
  5. ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน
  6. อาการข้างเคียงทุกชนิดจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้ในเข็มแรก
  7. ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

 

ทั้งนี้หากท่านสมาชิกมีอาการดังต่อไปนี้ หลังได้รับวัคซีน รีบไปพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

    •    ไข้สูง

    •    หนาวสั่น

    •    ปวดศีรษะรุนแรง

    •    เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก

    •    อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง

    •    ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก

    •    มีจุดจ้ำเลือดออกจํานวนมาก

    •    ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว

    •    แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้

    •    ต่อมน้ําเหลืองโต

    •    ชัก หรือหมดสติ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokhospital.com , www.praram9.com ,  www.synphaet.co.th , LDA Podcast , the standard